ทำไมต้องสวดมนต์ ?
“การสวดมนต์” หรือการสวดภาวนานั้น เป็นพิธีกรรมที่มีในทุกศาสนา ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในด้านของความเชื่อ ความศรัทธา
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม แม้แต่ละศาสนาจะมีความแตกต่างกันทางด้านความคิด ประเพณี และพิธีกรรม แต่วัตถุประสงค์ของการสวดมนต์ภาวนานั้น กลับมีความคล้ายคลึงกัน คือ “การปรับอารมณ์ของใจ” ด้วยการยึดเหนี่ยวคำสอนเป็นที่พึ่ง เพื่อให้จิตใจเกิดความเข้มแข็ง พร้อมที่จะเผชิญหน้าและสู้กับทุกปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
การสวดมนต์ จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น
แต่ยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจได้ดีอีกทางหนึ่ง และแน่นอนว่าเมื่อเรามีสุขภาพทางใจที่ดี ก็ย่อมส่งผลต่อสุขภาพทางกายเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ ทางการแพทย์สมัยใหม่จะนำเอาวิธีการ สวดมนต์บำบัด (Vibrational
Therapy) มาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป
การสวดมนต์บำบัด
คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy หรือ Vibrational
Medicine คือการใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่วย
ซึ่งมีหลากหลายวิธี อาทิ เก้าอี้ไฟฟ้า เครื่องนวดต่างๆ ก็เป็นVibrational
Therapy เช่นกัน แต่เป็นคลื่นไฟฟ้าเชิงฟิสิกส์ ที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
ต่างจากสวดมนต์บำบัดซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี อดีตหัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้ให้ความรู้ในการรักษาด้วยวิธีนี้ว่า “การสวดมนต์” นับเป็นหนึ่งวิธีของการปฏิบัติสมาธิ แต่เป็นการปฏิบัติสมาธิด้วยการใช้เสียง
เป็นตัวรับสัญญาณกลที่อยู่บริเวณช่องปาก เวลาสวดจะทำให้เกิดเสียงแผ่วๆ
ไปกระตุ้นการทำงานของตัวรับสัญญาณให้เกิดผลของการผลิตสาร เคมี ผลิตสารไฟฟ้า
รวมทั้งสารสื่อประสาทและโปรตีนบางตัว เพื่อทำให้เกิดการปรับสมดุลร่างกาย
ขึ้นอยู่กับจังหวะของเสียง และการสั่นสะเทือน
หน้าที่ของตัวรับสัญญาณ คือ การสัมผัส กด
สั่นสะเทือน เพราะฉะนั้นสั่นสะเทือนได้ดีก็สามารถควบคุมร่างกายที่มีความบกพร่อง
สามารถดูแลคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น คนที่มีความกังวลใจ นอนไม่หลับ หรือ คนที่มีแผลเรื้อรัง
ฉะนั้นการสวดมนต์จึงเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์ขั้นสูงที่ควรเอามา
ประกอบการดูแลผู้ป่วย
ยกตัวอย่าง เวลาเราฟังเสียงสวดมนต์ อย่างเสียง
ทุ้มๆ แผ่วๆ แล้วรู้สึกสบายใจ จุดนี้ทางการแพทย์มีคำอธิบายให้ฟังต่ออีกว่า
“ปกติเราวุ่นวายยุ่งเหยิง สารสื่อประสาทตัวที่ทำให้สมองวุ่นวายจะกระฉูดขึ้นมา
แต่ถ้าได้ยินเสียงแผ่ว ๆ สารสื่อประสาทก็จะวิ่งเข้าไปหาสัญญาณตัวที่ผ่อนคลาย
แล้วสมองด้านวุ่นวายไม่ผ่อนคลายก็จะลดระดับลง และนี่ก็เป็นตัวแรกที่ลดระดับลง
เมื่อสวดไปซักระยะหนึ่ง สารสื่อประสาทก็จะเข้าไปส่วนสมองที่เป็นการกรองสัญญาณ
ที่ทางการแพทย์เรียกว่า “ธารามัส” พอไปถึงตรงนั้นบริเวณตรงนี้จะปล่อยสารสื่อประสาทที่กันไม่ให้สมองชัก
กันไม่ให้คนก้าวร้าว ไม่ให้ฟุ้งซ่าน และสารตัวนี้ก็จะทำให้สามารถช่วยเยียวยาแผล
โดยจะใช้เวลาแค่เพียง 12 นาที และพอมาถึงจังหวะนี้คือสารเคมีในบริเวณสมองธารามัสจะออกมา
ฉะนั้นต้องสวดให้ได้จังหวะ เพราะสัญญาณที่เกิดสั่นสะเทือนเบาๆ ต่ำกว่า 25 เมกะเฮิร์ทซ์
จะส่งผ่านเข้ามา ไม่ผ่านเข้าทางเดินอาหาร แต่ผ่านเข้าระบบทางเดินหายใจ
ซึ่งก็หมายความว่า เราคุมการทำงานเส้นประสาทสมองตัวที่คุมอวัยวะข้างในได้
จุดสำคัญจึงอยู่ที่ร่างกายจะสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้หรือไม่
รศ.ดร.สมพร เสริมว่า
“หลักการสำคัญอยู่ที่หากมีสิ่งเร้าหลายๆประเภทเข้ามารบกวนกระบวนการทำงานของคลื่นสมองพร้อม ๆ กัน
ทำให้สัญญาณคลื่นสมองเปลี่ยนไป การหลั่งสารสื่อประสาทจะสับสน ไม่มีผลในการเยียวยา
สิ่งเร้านี้มาจากหลายส่วน ทั้งตัวเอง เช่น บางคนปากสวดมนต์
แต่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นก็ไม่ได้ประโยชน์ และการเกิดเสียงดังอื่นๆ
เข้ามารบกวนขณะสวดมนต์ เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรู้ได้ไวและอ่อนไหวมาก
เรามีตัวประสาทรับสัญญาณมากมาย เรารับสิ่งเร้าได้ทั้งจากทางปาก ตา หู จมูก
การเคลื่อนไหว และใจ
เหล่านี้ทำให้สัญญาณคลื่นสมองสับสนและเปลี่ยนไปร่างกายก็จะสร้าง ซีโรโทนิน ได้ไม่มากพอ”
และไม่ใช่เฉพาะสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์เท่านั้นที่เราจะได้จากการสวดมนต์
แต่การสวดมนต์ยังทำให้อวัยวะต่างๆได้รับการกระตุ้น
คล้ายกับการนวดตัวเองจากการเปล่งเสียงสวดมนต์
photo : khaosod |
นอกจากนี้ ทางด้าน รศ.จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ข้อสรุปประโยชน์ของการสวดมนต์ไว้
2 ข้อคือ
1.การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ โดยต้องสวดเสียงดัง
ให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด
เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่น ใจอยู่กับเสียงเดียว จึงเกิดสมาธิ
2.ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวดนั้นๆ จะทำให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธาเพราะบทสวดของทุกศาสนาเป็นเรื่องของความดีงาม
จิตใจก็จะสะอาดขึ้นบริสุทธิ์ขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวด
เมื่อร่างกายที่รับสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และการกระตุ้นระบบอวัยวะต่างๆให้ทำงานเป็นปกติ
เท่ากับว่าเราได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมทำให้ภูมิชีวิตดีขึ้นเป็นลำดับ
ความป่วยก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นผู้ที่สวดมนต์ภาวนาเป็นประจำจึงเป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี
หากจะอธิบายในแง่ของศาสนาแล้ว
ธรรมะบำบัดก็คือการนำเอาหลักธรรมะไปใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ
โดยในแต่ละศาสนาอาจมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เช่น
ธรรมะบำบัดของศาสนาคริสต์
ก็คือการไถ่บาป หรือการให้อภัยแก่ตัวเอง
ส่วนศาสนาอิสลาม เมื่อเกิดความทุกข์ใจ
ให้มีความเชื่อใจในพระเจ้า ว่าต้องสามารถผ่านด่านทดสอบไปให้ได้
สำหรับธรรมะบำบัดในทางพระพุทธศาสนานั้น
คือการทำความดี ละชั่ว ทำใจให้สงบปลอดโปร่ง ซึ่งทำได้ด้วยการทำสมาธิและการสวดมนต์
การสวดมนต์ของพุทธศาสนานั้นนอกจากเป็นการกล่าวสรรเสริญถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมคำสอนที่พระองค์ท่านได้ทรงแสดงไว้แล้ว การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจนอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองด้านร่างกายและจิตใจแล้ว
หากเราหมั่นพิจารณาและทำความเข้าใจคำสอนในบทสวดมนต์นั้นบ่อยๆ
ยังสามารถก่อให้เกิดปัญญามองเห็นความจริงของชีวิตและบรรลุธรรมได้เหมือนพระอริยเจ้าทั้งหลายในสมัยพุทธกาลที่ได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพิจารณาธรรมไปตามลำดับจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยสาวกในที่สุด
เมื่อการสวดมนต์ภาวนาส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจถึงเพียงนี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมผู้คนสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเชื้อชาติ หรือศาสนาใด จึงหันมาให้ความสนใจและศึกษาเรื่องของสมาธิบำบัดกันมากขึ้น
-------------------------------
บทความโดย : เดอะซัน
Blog : khaethinkpositive.blogspot
Facebook : @khaethinkpositive
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น