พูดแบบไหน จึงเป็นศรีแก่ตัว ??
การพูด เป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารที่เราใช้กันมากที่สุดในชีวิตประจำวันแทบทุกลมหายใจเข้าออก ในแต่ละวันคงไม่มีใครที่ไม่ใช้คำพูดในการติดต่อสื่อสาร หรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
การพูด จึงเป็นวิธีการสื่อสารที่ทำให้เราเข้าใจง่ายที่สุด ชัดและตรงประเด็นที่สุด เมื่อการพูดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราในแต่ละวัน “คำพูด” ที่หลุดออกมาจากปากจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ให้ทั้งผลดี
และผลร้ายแก่ตัวผู้พูดเอง
สำนวนที่ว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว” จึงเป็นการเตือนเรื่องการเลือกใช้คำพูดทั้งชายและหญิง หากพูดดี ย่อมเป็นผลดีแก่ตัวผู้พูด
ทำให้มีคนรักคนเมตตา แต่หากพูดไม่ดี
อาจสร้างความเกลียดชังให้แก่คนฟัง และนำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองได้
คำพูดที่ดีนั้นต้องเป็น “ปิยวาจา”
คือการพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน สุภาพ และ คำพูดนั้นต้องเป็นคำที่ควรพูด เป็นคำจริง เรื่องที่พูดต้องมีประโยชน์แก่คนฟังด้วย หลายคนมีความเข้าใจผิดคิดว่า คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวานนั้นต้องเป็นการพูดจาแบบออดอ้อน
ออเซาะ เอาอกเอาใจ หรือใส่จริตจก้านอย่างที่นางร้าย
นางอิจฉาทั้งหลายชอบจีบปากจีบคอพูดกันในละคร
ใครเข้าใจแบบนี้ โปรดรู้ไว้ว่าคุณเข้าใจผิดอย่างแรง !!!
คำพูด ที่เป็น ปิยวาจา
นั้นนอกจากการพูดจาไพเราะเสนาะหูแล้ว
คำที่พูดยังต้องเป็น “คำจริง”
คือเป็นคำพูดที่ว่ากันไปตามความเป็นจริง
ไม่ใช้วิธีปิดบัง
อำพรางด้วยการตั้งใจให้คนฟังรับข้อมูลที่ผิดไปจากความเป็นจริง
การพูดด้วย “คำจริง
คำตรง” นั้น ไม่ใช่การพูดแบบ “ขวานผ่าซาก”
การพูดด้วยคำจริง คำตรง
เป็นการพูดที่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริง
ไม่โกหก
หรือมีเจตนาหลอกให้คนอื่นเชื่อในสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง และการพูดนั้นต้องมีศิลปะในการพูด ถนอมน้ำใจของคนฟัง ไม่ใช้คำพูดที่ก้าวร้าวหรือบั่นทอนใจของคนฟัง
แม้เรื่องที่พูดนั้นจะเป็นเรื่องจริง
ซึ่งแตกต่างจากการพูดจาแบบขวานผ่าซาก ที่ใครๆก็ไม่อยากฟัง ไม่อยากได้ยิน เพราะนอกจากจะเป็นคำพูดที่ไม่ระรื่นหูแล้ว
ยังอาจก่อให้เกิดศัตรูได้โดยที่เราไม่รู้ตัว
วิธีการปิดบังอำพรางนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพูดเล่นสำนวน
พูดคลุมๆ เครือๆเพื่อให้คนฟังเข้าใจผิด (ทำเลศ),
การพูดที่แสดงกิริยาอาการหลอกให้คนอื่นเชื่อ (มารยา), การพูดเพื่อให้คนอื่นเข้าใจน้อยกว่าความเป็นจริง
(อำความ)
สิ่งที่เจอบ่อยๆ
เมื่อต้องอยู่ร่วมกันกับคนที่มาจากร้อยพ่อพันแม่
ต่างฐานะ ต่างความคิด เมื่อต้องมาทำงานร่วมกัน สิ่งที่ตามมาแน่ๆ และเป็นเหตุการณ์ปกติของทุกสังคมที่ต้องเจอ
คือ เกิดความอิจฉาริษยากันขึ้นในที่ทำงาน ไม่อยากเห็นใครดีเด่นเกินหน้าเกินตา เมื่อความอิจฉาริษยามีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มหาวิธีดิสเครดิต ลดความน่าเชื่อถือ หรือใส่ร้ายป้ายสีกันตามมา
การทำร้ายกันถึงขนาดจะให้ตายไปข้างหนึ่งนั่นก็คงไม่ใช่
เพราะไม่มีเหตุอะไรที่ทำให้เกิดความบาดหมางใจกันจนกลายเป็นความอาฆาตแค้น
เมื่อเป็นเช่นนี้
การใส่ร้ายคนอื่นด้วยคำพูด จึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ลงทุนลงแรงน้อยที่สุด
แต่สามารถส่งผลกระทบได้มากที่สุดเช่นกัน
หาก “ปิยวาจา” เป็นคำพูดที่ดีที่เราควรพูดแล้ว “วจีกรรม” ก็ถือว่าเป็นคำพูดที่เลวร้าย
เป็นคำพูดในด้านลบที่จะก่อเวรก่อกรรมให้แก่ตัวผู้พูดเอง
การพูดที่ใช้ทำร้ายกันที่เรามักเจอบ่อยๆ
หรือเห็นได้ทั่วไปจากคนรอบข้าง ยกตัวอย่างเช่น
การพูด “อำความ”
นาย เอ แอบนำเงินของบริษัทไปใช้ซื้อของส่วนตัว
แล้วเอาใบเสร็จรับเงินมาเบิกกับนาย บี ซึ่งดูแลการเงินโดยโกหกว่าเป็นของขวัญที่ซื้อให้ลูกค้าเพื่อรักษาลูกค้าประจำ
นาย บี
เมื่อรู้ความจริงภายหลังจึงเรียกนาย เอ มาคุยเพื่อให้นาย เอ
สารภาพว่าทำความผิดจริงแต่ นาย เอ
ไม่ยอมรับ จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุดท้าย
นาย บี จึงส่งรายงานให้เจ้านายจนเป็นเหตุให้นาย เอ ถูกไล่ออกจากงาน เมื่อถูกผู้ร่วมงานคนอื่นถาม นาย เอ
ได้เล่าเรื่องให้ฟังแต่ไม่ทั้งหมด ทำให้คนอื่นๆเข้าใจว่าเหตุที่นาย เอ
โดนไล่ออกเพราะนาย บี ไม่ชอบที่นาย เอ มีผลงานเกินหน้าเกินตาตัวเอง ทำให้คนอื่นๆเข้าใจนาย บี ผิดและเห็นใจนาย เอ
ที่โดนกลั่นแกล้ง...
เหตุการณ์นี้ถามว่า
นาย บี หรือนาย เอ ที่ทำผิด??
นาย บี ทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
เพราะเป็นการทำตามหน้าที่และไม่ได้ทำผิดศีลแต่ประการใด
นาย เอ นอกจากโกหกว่าของที่ซื้อนำไปให้ลูกค้าแล้ว ยังทำผิดศีลในลักษณะการพูด “อำความ” คือ
พูดความจริงส่วนหนึ่ง
และปกปิดอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อให้คนฟังมีความเข้าใจน้อยไปจากความเป็นจริง
ทำให้คนอื่นๆเข้าใจว่านาย เอ โดนนาย บี กลั่นแกล้ง
การพูด “ทำเลศ”
นาย เอ เห็นขโมยวิ่งผ่านหน้าไปไม่อยากบอกให้ผู้อื่นทราบว่าตนเห็น
จึงย้ายไปยืนที่อื่น เมื่อถูกถามว่าเห็นขโมยไหม จึงพูดเล่นสำนานว่าอยู่ที่นี่ไม่เห็น
อย่างนี้เรียกว่า ทำเลศ
การพูดที่เป็น “วจีกรรม” มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการพูดแบบคะนองปาก การพูดประชดประชัน พูดแดกดัน ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นการพูดแบบไหนล้วนก่อให้เกิดวิบากกรรมทั้งสิ้น แต่ วจีกรรม ที่ก่อให้เกิดวิบากกรรมร้ายแรงที่สุดนั้น คือ การพูดใส่ร้าย โดยเฉพาะการพูดใส่ร้ายป้ายสีกับผู้ที่ไม่คิดร้ายตอบ หรือผู้มีศีลมีธรรม
วจีกรรม จึงเป็นการทำผิดศีลข้อ
มุสาวาท ซึ่งเป็น 1ในศีล 5 ข้อที่เป็นพื้นฐานของความสงบในทุกสังคม และเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด ซึ่งหลายๆครั้งตัวเราเองก็อาจเผลอกระทำลงไปโดยไม่รู้ตัว !!!
บทความโดย : เดอะซัน
Blog : khaethinkpositive.blogspot
Facebook : @khaethinkpositive
Casinos with the highest number of slot machines - Dr.MCD
ตอบลบFind 여주 출장마사지 casinos 구미 출장마사지 that have the highest number 부천 출장샵 of slot 구리 출장샵 machines - casino directory of slots, the average slot machine jackpot in a 군포 출장마사지 casino with a